ความดันโลหิตต่ำ มีอาการและต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อความดันต่ำ

เบาหวานขึ้นตา

ความดันโลหิตต่ำ ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากว่าค่าความดันโลหิตนั้นจะเป็นเกณฑ์วัดเรื่องของสุขภาพ ว่าสุขภาพร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ ซึ่งการที่จะรู้ค่าความดันได้นั้นจะต้องมีการวัดความดันด้วยเครื่องวัดความดันเสียก่อน หากว่าค่าความดันโลหิตสูงหรือต่ำจนเกินไปจะมีโอกาสที่จะเกิดอาการต่างๆทางร่างกาย ซึ่งอาการที่เกิดจากความดันต่ำ ก็จะมีเช่น การวิงเวียนศีรษะ อาการหน้ามืด ใจสั่น ร่างกายอ่อนเพลีย สายตาพร่ามัว รู้สึกกระหายน้ำอยู่ตลอดเวลา ประคองตัวไม่อยู่ เป็นต้น

ความดันโลหิตต่ำเป็นอย่างไร?

ความดันต่ำคือ ภาวะที่มีความดันโลหิตในร่างกายต่ำกว่ามาตรฐาน ส่วนใหญ่ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำจะไม่ค่อยมีอาการหรือบางคนก็ไม่มีอาการใดๆแสดงออกเลย ดังนั้นการที่จะรู้ว่ามีภาวะความดันโลหิตต่ำหรือไม่ คือจะต้องมีการตรวจด้วยเครื่องวัดความดัน โดยค่าความดันโลหิตต่ำ จะมีเกณฑ์วัดที่ชัดเจนเพื่อแสดงค่าความดันออกมาว่ามีภาวะความดันต่ำหรือความดันสูง หรืออยู่ในเกณฑ์ความดันปกติ ซึ่งค่ามาตรฐานความดัน จะมีเกณฑ์วัดจากตัวเลข ทั้งเลขด้านบนและด้านล่าง โดยตัวเลขด้านบนถ้าหากว่าต่ำกว่า 90 มม.ปรอทและตัวเลขด้านล่างต่ำกว่า 60 มม.ปรอท แสดงว่าอยู่ในภาวะความดันโลหิตต่ำ ในที่นี้แม้ว่าตัวเลขที่แสดงออกมาจะต่ำกว่าเกณฑ์เพียงแค่ด้านเดียว หรืออาจจะต่ำทั้ง 2 ด้านก็ถือว่าอยู่ในภาวะความดันโลหิตต่ำเช่นเดียวกัน

บทความที่คล้ายคลึงกัน : โรคความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นได้ทุกคน เกิดจากอะไร

ความดันโลหิตต่ำ มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

สำหรับสาเหตุของการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร แต่ส่วนใหญ่มักตรวจพบค่าความดันโลหิตต่ำกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะกับผู้หญิงที่มีรูปร่างค่อนข้างเล็ก ร่างกายอ่อนแอ หรือกับผู้สูงอายุที่มีคนในครอบครัวเคยเป็นมาก่อน ซึ่งก็อาจจะเกิดจากพันธุกรรมหรือการเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ รวมไปถึงการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็วก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุด้วยเช่นกัน ส่วนในทางการแพทย์นั้นระบุไว้ว่าสาเหตุของการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำเกิดจากหลายปัจจัย บางทีอาจจะเกิดจากภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงของปอด หรือการทำงานของลิ้นหัวใจที่ทำงานผิดปกติ หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะหรือกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ รวมไปถึงภาวะการขาดน้ำที่ส่งผลต่อปริมาณเลือดในร่างกาย หรือบางทีก็อาจจะเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดมากกว่าปกติ นำมาซึ่งภาวะความดันต่ำ ซึ่งภาวะความดันต่ำนี้เองที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆตามมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคทางหลอดเลือด โรคหัวใจและโรคไต โรคไทรอยด์ เป็นต้น

การใช้งานเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล

วิธีการใช้งานเครื่องวัดความดันดิจิตอลจะมีวิธีการใช้ที่ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้งานง่ายแม้ไม่เคยใช้มาก่อน โดยขั้นตอนแรกให้สวมปลอกแขนโดยให้อยู่เหนือต้นแขนไปประมาณสัก 2-3 เซนติเมตร โดยให้ปลอกแขนวางอยู่ในระดับเดียวกันกับหัวใจ ไม่พับแน่นหรือหลวมจนเกินไป สามารถใช้ 2 นิ้วสอดเข้าไปใต้ปลอกแขนได้และให้สายวัดความดันอยู่หน้าข้อพับแขน จากนั้นวางแขนลงบนโต๊ะโดยให้หงายฝ่ามือขึ้น แล้วกดเปิดปุ่มเครื่อง เมื่อเครื่องเริ่มทำการวัดความดันโลหิต จะมีแรงรัดที่บริเวณต้นแขน และเมื่อเครื่องวัดค่าความดันเรียบร้อยแล้ว แรงรัดที่แขนจะคลายลง จากนั้นค่าวัดความดันจะแสดงขึ้นที่หน้าจอ โดยมีทั้งค่าวัดความดันตัวบน ค่าวัดความดันตัวล่าง และค่าการเต้นของชีพจร ถ้าหากว่าใครมีค่าความดันโลหิตต่ำกว่ามาตรฐาน แสดงว่าเป็นคนที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำนั่นเอง

เมื่อเป็นความดันโลหิตต่ำ ต้องปฏิบัติตนอย่างไร

1.ทานอาหารควบคุมความดัน โดยควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ควรทานอาหารติดมัน อาหารที่มีไขมันปริมาณมาก ขนมหวานที่มีส่วนผสมของน้ำตาลเยอะ อาหารหมักดอง รวมไปถึงอาหารที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เพราะอาหารเหล่านี้มีผลเสียแต่การควบคุมความดันโลหิต ซึ่งอาหารที่ควรทานเมื่อเป็นความดันโลหิตต่ำก็คือ ผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียม เช่น ลูกพรุน กล้วย นอกจากนี้ก็ควรทานธัญพืชที่ช่วยควบคุมความดันโลหิตและช่วยลดคอเลสเตอรอลอย่างถั่ว และที่จำเป็นต้องทานมากที่สุดก็คืออาหารความดันต่ำที่มีไขมันต่ำ อย่างเช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นต้น

2.ออกกำลังกายเพื่อควบคุมความดัน โดยในทางการแพทย์พบว่าการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค ว่ายน้ำ วิ่งจ๊อกกิ้ง คือการรักษาความดันโลหิตต่ำที่มีประสิทธิภาพสูงและยังสามารถควบคุมความดันได้ แต่การออกกำลังกายก็ไม่ควรออกหนักจนเกินไป ควรออกอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ วันละ 30 นาทีก็เพียงพอ และในระหว่างที่ออกกำลังกาย หากมีอาการเหนื่อยกว่าปกติ รู้สึกหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ควรหยุดกิจกรรมในการออกกำลังกายทันที

3.พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ ดังนั้นเมื่อเป็นความดันโลหิตต่ำก็ควรที่จะหันมาดูแลตัวเอง โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้ได้อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เพราะการพักผ่อนที่เต็มที่และเพียงพอ จะช่วยควบคุมความดันโลหิตได้

4.ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม การดื่มน้ำนั้นจะช่วยเพิ่มปริมาณของเหลวในร่างกาย ทำให้เป็นการป้องกันภาวะการขาดน้ำที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ โดยควรดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วขึ้นไป หากทำได้ดังนี้ทุกวันนอกจากจะช่วยควบคุมความดันได้แล้ว ยังทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอีกด้วย

5.ลดการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็วเป็นปัจจัยอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ ดังนั้นจึงควรที่จะค่อยๆเปลี่ยนอิริยาบถไปท่วงท่าอื่นๆแบบช้าๆ เช่นการเปลี่ยนจากนอนเป็นยืนหรือจากนั่งเป็นยืน โดยควรจะลุกขึ้นแบบช้าๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการหน้ามืดหรือเกิดอาการวูบขึ้นมาได้ 

6.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแดด เพราะถ้าหากสัมผัสกับแดดโดยตรงหรือสัมผัสกับแดดเป็นเวลานาน จะทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแดดหรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูงเกินไป เพื่อจะได้ควบคุมความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

บทความที่น่าสนใจ : เคล็ดลับ! จะมีวิธีลดความดันโลหิตสูงได้อย่างไร?