หมั่นควรเช็ค หัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายที่คุณอาจจะคาดไม่ถึง

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หัวใจเต้นผิดจังหวะ อีกหนึ่งความน่ากลัวของโรคหัวใจที่พบได้บ่อย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่เกิดขึ้นบ่อย โดยส่วนใหญ่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจห้องบนทำงานไม่เป็นปกติ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว และไม่สม่ำเสมอ จึงส่งผลให้หัวใจมีการสูบฉีดเลือดได้น้อยลง จนนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย และยังทำให้เกิดการกระตุ้นของหัวใจห้องบนที่กระจัดกระจาย ส่งผลทำให้เลือดหมุนวนตกค้างในหัวใจห้องบน จนเกิดลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดสมองสูงกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้ เรียกว่าอันตรายไม่น้อยเลยทีเดียว

อ่านเพิ่มเติม : ค่าความดันปกติ ของคนเรานั้นอยู่ที่เท่าไหร่ถึงจะถือว่าดี

สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีสาเหตุของการเกิดโรคมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งหลายคนก็ยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง แต่สาเหตุโดยส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดจาก สาเหตุดังต่อไปนี้ 

  • โรคหัวใจและโรคหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ 
  • โรคประจำตัว เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคนอนกรนร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นต้น อาจจะรวมไปถึงโรคอื่น ๆ ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้ได้ด้วยเช่นกัน 
  • อีกหนึ่งสาเหตุของของการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะคือ มักจะเกิดจากหลอดเลือดหัวใจโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นโรคทางกล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบ หรือไม่ก็มักจะเกิดจากภาวะความดันโลหิตสูง ส่งผลทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ด้วยเช่นกัน 

อาการของ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่า ผู้ป่วยแต่ละคนนั้นมักจะมี อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่แตกต่างกันออกไป โดยอาการที่มักจะแสดงออกมาให้เห็นบ่อย ๆ มีดังต่อไปนี้ 

  • ในกรณีที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการมึนงง ใจหวิว ร่วมกับมีระดับความดันโลหิตต่ำลง และอาจจะทำให้ผู้ป่วยเป็นลมหมดสติได้
  • ในกรณีที่มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ จะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว และอาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก หน้ามืดได้ และเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวาย อาจเสียซีวิตเฉียบพลันได้เลยทีเดียว
  • อาการต่าง ๆ ที่เกิดร่วมกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • ผู้ป่วยจะเริ่มมีภาวะใจสั่นทั้งขณะพักหรือหลังจากการทำกิจกรรม โดยอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดก็คือ หอบเหนื่อยง่าย บางรายมักจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือในผู้ป่วยบางรายก็จะเกิดขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนของโรคต่าง ๆ  เช่น เส้นเลือดสมองอุดตัน ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น 
ลด 6%
Original price was: 10,500.00 ฿.Current price is: 9,900.00 ฿.
ลด 2%
Original price was: 9,500.00 ฿.Current price is: 9,300.00 ฿.
ลด 2%
Original price was: 9,000.00 ฿.Current price is: 8,800.00 ฿.
ลด 5%
Original price was: 6,850.00 ฿.Current price is: 6,500.00 ฿.
ลด 5%
Original price was: 6,500.00 ฿.Current price is: 6,200.00 ฿.
ลด 1%
Original price was: 4,900.00 ฿.Current price is: 4,850.00 ฿.
ลด 17%
Original price was: 1,190.00 ฿.Current price is: 990.00 ฿.

จะมีวิธีเช็คและรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างไร

หัวใจเต้นผิดจังหวะ ถือเป็นภาวะที่มีการบีบตัวของหัวใจที่เสียไป โดยมีสาเหตุเกิดจากการสร้างสัญญาณไฟฟ้าที่ผิดปกติ จึงทำให้การบีบตัวของหัวใจผิดปกติไปด้วยนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง อยู่ที่ประมาณ 1-2 % และพบได้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นในผู้ที่อายุ 70 – 80 ปี และมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นมากถึง 5 % แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราอยู่ในภาวะหัวใจเต้นผิดปกติหรือไม่ บางรายก็จะสังเกตจากอาการที่เกิดขึ้นในร่างกาย แต่เพื่อความแม่นยำในการตรวจโรคจะใช้วิธีการเช็คอัตราการเต้นหัวใจโดยการใช้ เครื่องวัดความดันโลหิต หรืออาจจะต้องใช้วิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยจะวินิจฉัยจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่จังหวะไม่สม่ำเสมอ และมีความถี่ของ P wave มากกว่า 350 ครั้งต่อนาที

 

เมื่อเราได้ทราบถึงสาเหตุ อาการ และวิธีการเช็คโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ต่อมาก็คือแนวทางการรักษา ซึ่งแนวทางการรักษานั้นก็จะมีหลายแนวทาง นั่นก็เพราะว่าผู้ป่วยแต่ละคนมักจะมีอาการที่ไม่เหมือนกันนั่นเอง รวมถึงมีสาเหตุของการเกิดโรคที่ไม่เหมือนกันอีกด้วย โดยแนวทางการรักษาที่ใช้รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีดังต่อไปนี้ 

  1. หลายคนเมื่อมีอาการหรือทราบว่าตนเองเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะก็มักจะนึกถึงการรักษาด้วยยา ซึ่งนี่เป็นแนวทางการรักษาหลักที่เรารู้กันดี เนื่องจากการใช้ยาสามารถควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อไม่ให้หัวใจเต้นเร็วเกินไป ทั้งในขณะพัก หรือในขณะที่กำลังออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม แต่การใช้ยาเพื่อรักษานั้นจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถวินิจฉัยอาการป่วยนี้ได้ด้วยตนเอง และไม่สามารถซื้อยามาทานได้ด้วยตนเอง เพราะถือเป็นความเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก 
  2. อีกหนึ่งแนวทางการรักษาร่วมกับการใช้ยาควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อไม่ให้หัวใจเต้นเร็ว คือ การใช้ยาควบคุมจังหวะการเต้นหัวใจ นั่นก็คือ จากจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติให้กลับมาเป็นจังหวะการเต้นของหัวใจที่ปกติ และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจในครั้งต่อไปอีกด้วย 
  3. แนวทางการรักษาด้วยยาไม่ได้มีเพียงแค่นี้แต่ยังมีการใช้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยด้วย โดยปกติผู้ป่วยจะเกิดลิ่มเลือดในหัวใจห้องบนได้ง่าย ซึ่งหากเมื่อไหร่ที่ลิ่มเลือดได้มีการหลุดออกไป ก็จะสามารถทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันตามอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ของร่างกายได้ ส่งผลทำให้เกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เพราะฉะนั้นหากมีการวินิจฉัยออกมาอย่างชัดเจนและมีข้อบ่งชี้จากแพทย์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาละลายลิ่มเลือดในกลุ่มนี้กับผู้ป่วยเพื่อเป็นแนวทางการรักษาที่ปลอดภัย
  4. ผู้ป่วยหลายคนอาจจะเคยได้รับการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดปกติด้วยการใช้คลื่นความถี่ เพื่อเข้าไปจี้บริเวณที่ส่งสัญญาณผิดปกติ โดยการใส่สายเข้าไปในเส้นเลือดของผู้ป่วย ซึ่งแนวทางการรักษานี้จะใช้คลื่นความถี่เพื่อตัดวงจรที่ส่งสัญญาณผิดปกติ และทำการจี้เข้าไปเพื่อให้คลื่นสัญญาณของหัวใจกลับมาเป็นปกติ โดยแนวทางการรักษาด้วยการใช้คลื่นความถี่นั้นจะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของแพทย์ และจะต้องทำด้วยความระมัดระวังมากที่สุด 
  5. การผ่าตัดถือเป็นแนวทางการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่แพทย์มักจะใช้เป็นวิธีสุดท้าย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หรืออยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยง โดยการผ่าตัดจะทำการผ่าที่บริเวณเนื้อเยื่อของห้องหัวใจส่วนบนที่มีการส่งสัญญาณผิดปกติได้ 
  6. หลักจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมแล้ว สิ่งสำคัญที่จะต้องทำร่วมกับแนวทางการรักษาอื่น ๆ ก็คือ การงดสูบบุหรี่ เนื่องจากสามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบได้ ซึ่งโรคนี้ถือเป็นสาเหตุหนึ่งของหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมแล้วหากกลับมาสูบบุหรี่ความเสี่ยงของโรคก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น และเป็นอันตรายต่อหัวใจเป็นอย่างมาก นอจากนี้ก็ควรงด ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และหมั่นออกกำลังกายเบา ๆ เช่น เดินเหยาะอย่างน้อยวันละ 15-30 นาที 

หัวใจเต้นผิดจังหวะ ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่เกี่ยวกับหัวใจที่มีความน่ากลัวไม่น้อยเลยทีเดียว หลายคนเมื่อมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะก็มักจะมองข้าม และมองว่าเป็นอาการที่ไม่รุนแรง ทำให้ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นจึงไม่อยากให้ทุกคนมองข้ามความผิดปกติของร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจที่เป็นอวัยวะสำคัญ เพราะหากหัวใจเกิดความผิดปกติอาจจะทำให้ร่างกายส่วนอื่น ๆ เกิดความผิดปกติได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามเมื่อไหร่ที่รู้สึกว่าร่างกายเริ่มมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาโรคทันที เพราะหากเราตรวจเจอโรคได้เร็วก็จะสามารถรักษาได้อย่างท่วงทัน โดยไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดภาวะที่รุนแรง หรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม : สงสัยกันมั้ย โรคความดันโลหิตสูงสามารถหายได้หรือไม่