เครื่องวัดความดันแบบปรอท วิธีใช้งานอย่างไรไม่ให้ติดปัญหาเวลาใช้

เครื่องวัดความดันแบบปรอท

เครื่องวัดความดันแบบปรอทใช้งานอย่างไรศึกษาให้เข้าใจก่อนใช้งานจริงจะได้ไม่ติดปัญหาเวลาใช้งาน สำหรับเครื่องวัดความดันแบบปรอทนั้นเป็นเครื่องวัดความดันที่มีลักษณะการใช้งานที่ยากกว่าเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล ทำให้การวัดความดันแบบปรอทไม่ค่อยนำมาใช้โดยทั่วไป แต่เรามักจะเห็นบุคลากรทางแพทย์เป็นผู้ใช้งานมากกว่า วันนี้เราเลยมีวิธีการ เช็คความดันโลหิต ด้วยเครื่องวัดความดันแบบปรอทมาฝาก เพื่อทุกคนจะได้มีความเข้าใจและสามารถนำมาใช้งานได้อย่างถูกต้องนั่นเอง จะมีวิธีการใช้งานอย่างไรนั้นไปดูกันเลยดีกว่า 

เครื่องวัดความดันแบบปรอท

เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอท เป็นเครื่องวัดความดันที่มีความแม่นยำสูงเช่นเดียวกับเครื่องวัดความดันชนิดอื่น ๆ โดยลักษณะการทำงานของ การวัดความดันแบบปรอท จะใช้หลักการของแรงโน้มถ่วง โดยไม่ใช้แบบดิจิตอล ทำให้สามารถวัดค่าได้ง่าย เป็นเครื่องวัดความดัน โรคความดันโลหิตสูง ที่นิยมใช้ในสถานพยาบาบเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการใช้งานของเครื่องวัดความดันต้องมีทักษะการใช้งานที่ดี เพราะหากใช้งานไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการตรวจโรคและเกิดอันตรายกับผู้ใช้ได้

บทความที่น่าสนใจ : มารู้จักกับ เครื่องวัดความดันโลหิต

วิธีใช้เครื่องวัดความดันแบบปรอท

การวัดความดันแบบปรอท หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้งานและอาจจะยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการแสดง ค่าเครื่องวัดความดัน เนื่องจากไม่มีหน้าจอแสดงผลแบบดิจิตอลนั่นเอง โดย วิธีใช้เครื่องวัดความดันแบบปรอท และการอ่านค่าความดันสามารถทำได้ดังนี้

  1. เริ่มจากการเปิดที่ล้อคเพื่อใช้งาน ก่อนเริ่มใช้งานจะต้องเปิดที่ล็อคปรอทก่อน เพื่อให้เครื่องสามารถทำงานได้ จากนั้นให้ผู้ป่วยนำแขนขึ้นมาวางราบกับพื้นโต๊ะ แล้วใช้ผ้าพันแขนที่ต้นแขนโดยห่างจากข้อศอกประมาณ 1 นิ้ว
  2. จากนั้นเริ่มวัดความดันด้วยการจับชีพจร เพื่อเป็นการประมาณค่าความดันบนตัวของผู้ป่วย เสร็จแล้วทำการวัดความดันด้วยการบีบลูกยางเพื่อปล่อยลมเข้าไป พร้อมกับทำการวัดชีพจรด้วย โดยความดันค่าต่ำที่สุดที่ไม่สามรรถจับชีพจรได้แล้วเป็นค่าที่ต้องการ ซึ่งเมื่อนำไปบวกค่าเพิ่มอีกประมาณ 20-30 มิลลิเมตรปรอท เพื่อเป็นค่าความดันสูงสุดที่นำไปใช้วัดจริง
  3. ใส่หูฟังทางการแพทย์ หลังจากที่ทำการจับชีพจรผู้ป่วยเรียบร้อยแล้ว สามารถทำการวัดความดันได้เลย โดยการวัดความดันนั้นจะต้องใส่หูฟังทางการแพทย์ที่ทำงานร่วมกับเครื่องวัดความดันควบคู่ไปด้วย เพื่อใช้ในการอ่านค่าความดัน โดยใช้ด้านที่มีขนาดเล็กวางบริเวณผ้าพันกับข้อศอก และหลีกเลี่ยงไม่ให้หูฟังเข้าไปในผ้าพันเด็ดขาด
  4. จากนั้นบีบลูกยางให้ลมเข้าไปในผ้าพันและเริ่มทำการวัดความดันด้วยการบีบลมเข้าไปในผ้าพันแขน โดยการปล่อยลมเข้าไปในเส้นปรอทขึ้นไปถึงระดับค่าความดันสูงสุดตามที่ประมาณการจับชีพจรไว้ โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ที่ 180 – 200 มิลลิเมตรปรอท
  5. เปิดวาล์วลูกยางเพื่อปล่อยลมออก จากนั้นเส้นปรอทจะวิ่งไปที่ระดับสูงสุด โดยให้คุณทำการปล่อยลมออกมา 2 มิลลิเมตรปรอท โดยเปิดวาล์วลูกยางให้ลมออกมา เพื่อเป็นการวัดค่าความดันโดยฟังเสียงตุ้บแรกให้ดี เพราะเป็นเสียงค่าความดันบน ส่วนตุ้บที่สองเป็นค่าความดันล่าง เมื่อวัดความดันเรียบร้อยแล้วให้จดบันทึกเอาไว้ หากเป็นไปได้แนะนำให้วัดความดัน 2 ครั้งเพื่อความแม่นยำ

ข้อดีของเครื่องวัดความดันแบบปรอท

ข้อดีของการวัดความดันด้วย เครื่องวัดความดันแบบปรอท มีดังนี้

  1. เป็นเครื่องวัดความดันที่มีความปลอดภัย และได้มาตรฐานการบริการสากลที่ได้รับความนิยมและถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง
  2. เป็นเครื่องวัดความดันที่ค่อนข้างมีความแม่นยำ แม้ว่าจะมีลักษณะการใช้งานที่ยุ่งยากกว่าเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลก็ตาม แต่ผู้ใช้จะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้ โดยการศึกษาให้ดีก่อนเพื่อจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดในการใช้งานนั่นเอง
  3. เหมาะกับการใช้งานในสถานพยาบาลมากกว่าการใช้งานโดยทั่วไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้งานโดยทั่วไปไม่ได้ หากผู้ใช้มีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้ก็สามารถใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอทได้โดยทั่วไปเช่นเดียวกับเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลได้
  4. มีลักษณะการใช้งานที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่ผู้ใช้งานต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องวัดความโลหิตแบบปรอทให้ดีก่อนนำมาใช้ ซึ่งจากภาพโดยรวมจะเห็นได้ว่าสามารถใช้งานได้ง่าย ไม่ยากจนเกินไปอย่างที่หลากหลายกังวล ทั้งยังมีความแม่นยำและมีความน่าเชื่อถือสูงอีกด้วย

ดังนั้นการวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันแบบปรอทก็เป็นอีกหนึ่งการวัดความดันที่มีความแม่นยำด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วนอกจากสถานพยาบาลโดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้เครื่องวัดความดันแบบปรอทแล้ว หากใครที่ต้องการใช้เครื่องวัดความดันลักษณะนี้ก็สามารถเลือกซื้อ เลือกหานำมาใช้งานได้ด้วยเช่นกัน เพื่อใช้งานได้ง่ายหากมีความเข้าใจ แต่อย่างไรก็ตามหากใครที่ยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้งานคุณควรศึกษาและทำความเข้าใจให้ดีก่อน เพื่อความแม่นยำในการวัดค่าความดันและการวัดชีพจร และที่สำคัญก่อนวัดความดันควรอยู่ในความพร้อมมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นท่านั่ง หรือการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนวัดความดัน 

บทความที่น่าสนใจ : การวัดความดันโลหิตคืออะไร วัดไปทำไมกัน?