ความดันโลหิตต่ำเกิดจาก? คงสงสัยกันว่าความดันโลหิตต่ำมีสาเหตุมาจากอะไร

ความดันโลหิตต่ำเกิดจาก

แม้ว่าร่างกายของคุณจะแข็งแรงปกติ ไม่มีการเจ็บป่วยหรือผิดปกติอะไร แต่ก็ไม่ใช่ว่าคุณจะไม่มีความเสี่ยงต่อการเป็นความดันโลหิตต่ำอยู่ เพราะความดันโลหิตต่ำเป็นภัยเงียบใครหลายคนยังไม่รู้ อาจจะแสดงอาการหรือไม่มีการแสดงอาการใดๆเลยก็ได้ ส่วนที่แสดงอาการก็จะมีเช่น วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้อาเจียน ในปัจจุบันความดันโลหิตต่ำเกิดจากหลายปัจจัย ทำให้ยังหาข้อสรุปที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากว่าต้องการรู้ว่าเป็นความดันโลหิตต่ำหรือไม่ สามารถทำการวัดความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลได้

มาดูกันว่า ความดันโลหิตต่ำคืออะไร

ความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะความดันโลหิตต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งในเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุจะมีเกณฑ์การวัดที่แตกต่างกัน โดยค่าความดันโลหิตนั้นจะวัดได้จากเครื่องวัดความดันโลหิตทั้งแบบซิงเกิลและแบบดิจิตอล สำหรับเด็กจะมีค่าความดันอยู่ที่ราวๆ 110/70 มิลลิเมตรปรอท ไม่ควรสูงหรือต่ำกว่านี้ สำหรับผู้ใหญ่จะมีค่าความดันปกติอยู่ที่ 90/60 มิลลิเมตรปรอท ส่วนผู้สูงอายุก็จะมีการวัดจากค่าความดันโลหิตตามเกณฑ์อายุซึ่งจะต้องไม่ต่ำกว่า 100/70 มิลลิเมตรปรอท จากการสำรวจพบว่าภาวะความดันโลหิตต่ำก็มักจะพบมากในผู้หญิงและผู้สูงอายุ สำหรับการวัดความดันโลหิตต่ำในผู้ใหญ่ จะวัดจากตัวเลขทั้งด้านบนและด้านล่าง ถ้าหากว่าตัวเลขด้านบนและด้านล่างต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท แสดงว่าเสี่ยงต่อการเป็นความดันโลหิตต่ำ ส่วนผู้ใหญ่นั้นจะมีการวัดค่าความดันโลหิตต่ำอยู่ที่ 100/70 มิลลิเมตรปรอท ถ้าหากว่าวัดค่าความดันออกมาแล้วต่ำกว่านี้ แสดงว่าเสี่ยงต่อการเป็นความดันโลหิตต่ำ

บทความที่คล้ายคลึงกัน : มารู้จักกับ ความดันโลหิตต่ำกันดีกว่า มีอาการอย่างไรบ้าง

ความดันโลหิตต่ำเกิดจากอะไร? อะไรเป็นสาเหตุได้บ้าง

สาเหตุของความดันโลหิตต่ำเกิดจากหลายปัจจัย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกับการเปลี่ยนอิริยาบถทางร่างกายอย่างฉับพลัน เช่น การลุกนั่งที่ทำแบบกะทันหัน การก้มเงยศีรษะอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนอิริยาบถนี้ก็จะทำให้เกิดอาการเวียนหัว เพราะความดันเลือดที่จะไปเลี้ยงสมองนั้นลดลงอย่างกะทันหัน ทำให้เกิดภาวะความดันต่ำ ส่วนอีกสาเหตุก็อาจเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ มีผลมาจากความเครียด ซึ่งความเครียดก็ถือเป็นอีกปัจจัยหลักที่มีผลต่อระดับความดันในร่างกายที่สามารถเช็คความดันโลหิตได้ นอกจากนี้การเกิดภาวะความดันต่ำยังรวมไปถึงการขาดสารอาหารที่เหมาะสมต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน วิตามินซี วิตามินบี เพราะสารอาหารเหล่านี้จะช่วยให้ผนังหลอดเลือดแดงแข็งแรง ดังนั้นถ้าหากว่าร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอก็มีผลที่จะทำให้เกิดภาวะความดันต่ำ ในเรื่องของการใช้ยาก็มีผลต่อการเกิดภาวะความดันต่ำ ยกตัวอย่างเช่น ยาลดความดันโลหิต ยากล่อมประสาท  ยาต้านความเศร้า รวมไปถึงยาที่ใช้กับโรคประจำตัวต่างๆ ที่มีผลต่อระดับความดัน นอกจากนี้การเกิดโรคต่างๆก็มีผลต่อภาวะความดันต่ำ ไม่ว่าจะเป็นโรคโลหิตจาง โรคหัวใจ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น ส่วนเรื่องที่เป็นข้อถกเถียงและยังเป็นข้อสงสัยต่อการเกิดภาวะความดันต่ำ ก็คือการเกิดจากพันธุกรรม ที่มีผลทำให้รูปร่างเล็ก ผอมบาง อ่อนแอ ซึ่งปัจจัยทางด้านร่างกายแบบนี้ก็มีผลที่ทำให้เกิดภาวะความดันต่ำในอนาคตได้เช่นเดียวกัน

 ความดันโลหิตต่ำอันตรายมากน้อยแค่ไหน

ความดันโลหิตต่ำ ถือเป็นภัยเงียบที่มีความอันตรายต่อร่างกาย มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ รวมไปถึงทำให้ระบบการทำงานของร่างกายทำงานผิดพลาด ทำให้ระบบการทำงานของสมองลดลงมากกว่าปกติ ทำให้มีอาการสับสน ไร้ความมั่นใจ มือเท้าเย็นเกร็ง ตัวซีด เสียการทรงตัว หายใจตื้นและเร็วขึ้น ชีพจรเต้นผิดปกติ สมองและหัวใจขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง ซึ่งแน่นอนว่าถ้าหากภาวะความดันโลหิตต่ำส่งผลกระทบไปถึงหัวใจ อาจจะทำให้เกิดอาการช็อกและอาจจะทำให้เสียชีวิตได้

การรักษาความดันโลหิตต่ำ

  1. หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาความดันโลหิตต่ำและยังเป็นการป้องกันภาวะโลหิตต่ำที่เกิดจากการสื่อสารระหว่างหัวใจกับสมองที่ผิดพลาด
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยควรรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมัน หรือที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทกึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง ขนมหวาน เป็นต้น
  3. แบ่งการทานอาหารออกเป็นหลายๆมื้อ รับประทานแค่พออิ่ม ไม่ควรรับประทานครั้งเดียวจนทำให้รู้สึกอิ่มมากเกินไป เพราะเมื่ออิ่มมากเกินไป อาจจะทำให้ควบคุมความดันโลหิตได้ยากขึ้น
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยให้มีสุขภาพดีและยังทำให้มีการสูบฉีดเลือดให้ไหลไปเลี้ยงหัวใจ รวมถึงไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ช่วยรักษาและควบคุมภาวะโลหิตต่ำได้
  5. ดื่มน้ำให้มากๆ การดื่มน้ำเป็นประจำจะทำให้มีปริมาณของเหลวในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้เป็นการช่วยลดภาวะความดันโลหิตต่ำ โดยควรจะดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมประมาณ 6-8 แก้วต่อ 1 วัน หลังจากที่ดื่มน้ำแล้วควรทำการตรวจวัดความดันบ่อยๆเพื่อเช็คค่าความดันด้วย
  6. งดการดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน แม้ว่าทั้งสองอย่างนี้จะเป็นของเหลวที่สามารถช่วยเพิ่มปริมาณของเหลวในร่างกายได้ แต่แอลกอฮอล์กับคาเฟอีนนั้นแตกต่างไปจากน้ำเปล่า เพราะทั้งสองอย่างนี้มีฤทธิ์ในตัว หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้ไปกระตุ้นภาวะความดันโลหิตต่ำได้
  7. ใส่ถุงเท้าช่วยเพิ่มความดัน ถุงเท้าเพิ่มความดันเป็นนวัตกรรมใหม่ที่พัฒนามาเพื่อช่วยในระบบไหลเวียนเลือด ให้เลือดลมหมุนเวียนในร่างกายได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความดันโลหิต แต่การจะใช้ถุงเท้าช่วยเพิ่มความดันนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากแพทย์ และต้องมีการวัดความดันโลหิตให้ชัดเจนก่อนด้วย
บทความที่น่าสนใจ : โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากอะไรได้บ้างและวิธีการดูแล