มาดูกันว่า โรคความดันโลหิตสูงหายได้ไหม คนเป็นความดันต้องรู้ไว้

โรคความดันโลหิตสูงหายได้ไหม

โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่มักจะพบบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ที่มีภาวะความเสี่ยง ซึ่งถือเป็นโรคที่หลายคนมักละเลยและไม่ให้ความสำคัญกันสักเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่ค่อยแสดงอาการป่วยที่ชัดเจนในทันทีนั่นเอง ซึ่งหลายคนที่รู้ว่าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมักจะพบได้จากการวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต ปัจจุบันก็จะพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากไม่พบสาแหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน และหลายคนก็มักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องของอาหารการกินสักเท่าไหร่ ทำให้เสี่ยงเกิดโรคได้ง่ายและเมื่อป่วยเป็นโรคนี้ก็มักจะมีคำถามว่า โรคความดันโลหิตสูงหายได้ไหม ดังนั้นเรามาหาคำตอบกันเลย 

บทความน่าสนใจ : ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูงอันตรายแค่ไหน

โรคความดันโลหิตสูงคืออะไร และสามารถหายได้ไหม

โรคความดันโลหิตสูงคือ ภาวะแรงดันในหลอดเลือดแดงสูง ซึ่งหากปล่อยไว้ในระยะยาวจะทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายหลายระบบ สำหรับค่าความดันจะมี 2 ค่าคือ ค่าตัวบน เป็นความดันโลหิตหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบเลือดออกไปสู่ระบบไหลเวียนเลือด ค่าล่าง เป็นความดันเลือดแดงขณะที่หัวใจคลายตัว โดยค่าความดันเลือดปกติคือ ตัวบนไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท เราจะทราบค่าความดันโลหิตได้เมื่อใช้เครื่องวัดความดันโลหิต แต่อย่างไรก็ตามควรสังเกตอาการของตนเองด้วยว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรือไม่ เช่น ความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งหากถามว่า โรคความดันโลหิตสูงหายได้ไหม ต้องบอกก่อนเลยว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่จะรักษาเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดอาการร้ายแรงหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ด้วยการทานยาอย่างสม่ำเสมอและควบคุมการทานอาหารโดยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือหากใครที่กังวลว่าตนเองมีความเสี่ยงวต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงสามารถสังเกตอาการได้ง่าย ๆ คือ จะมีอาการดังนี้ ปวดศีรษะ เวียนหัว ตาพร่ามัว อ่อนเพลีย เหนื่อย นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท รวมถึงมักมีอาหารหัวใจเต้นผิดปกติ จนนำไปสู่ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจวายได้ ไม่เพียงแค่นี้เพราะยังต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออุดตัน ไตเสื่อม อัมพาต ซึ่งภาวะดังกล่าวถือเป็นความเสี่ยงที่อันตรายต่อชีวิตได้ ในส่วนของสาเหตุที่เกิดโรคความดันโลหิตสูงนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจะเกิดจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีกมากมาย การดูแลตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญและไม่ควรมองข้ามต่อการเกิดโรค เพรพาะทุกคนล้วนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้นั่นเอง 

วิธีป้องกันไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร โดยเลือกทาน อาหารลดความดันโลหิตสูง เช่น ลดเค็ม ลดหวาน อาหารรสจัด เปลี่ยนมาเป็นเมนูเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ถั่วชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที
  3. หมั่น เช็คความดันโลหิต ด้วยเครื่องวัดความดันบ่อย ๆ เพื่อจะได้ทราบค่าความดันโลหิตของตนเองว่าเป็นอย่างไร หากมีความผิดปกติจะได้ป้องกันและสามารถรักษาได้อย่างถูกต้อง
  4. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตันได้

ควรเลือกใช้เครื่องวัดความดันแบบไหนดี

ปัจจุบันมีเครื่องวัดความดันโลหิตหลายแบบให้เลือกใช้เยอะมาก หากเป็นตามสถานพยาบาลก็จะเห็นว่าโดยส่วนใหญ่เลือกใช้เป็นเครื่องวัดความดันแบบสอดแขนที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นมาตรฐานเครื่องวัดความดันที่ใช้งานง่ายและผู้ป่วยที่มาใช้บริการที่สถานพยาบาลก็สามารถทำการวัดความดันได้ด้วยตนเองได้เลย โดยเครื่องวัดความดันจะแสดงตัวเลขวัดความดันที่สามารถดูได้ง่ายและทราบผลในทันที แต่หากเป็นการใช้งานโดยทั่วไปเรามีวิธีเลือกเครื่องวัดความดันเพื่อการใช้งานที่เหมาะสมมาฝากดัง

1.เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล

สำหรับเครื่องวัดความดันดิจิตอลนั้นก็จะเป็นเครื่องวัดความดันที่มีรูปแบบการใช้งานที่ค่อนข้างง่าย และมีหลายแบบให้เลือกใช้ ซึ่งเป็นเครื่องวัดความดันที่ไม่ต้องใช้หูฟังหรือไม่ต้องมีลูกยางสำหรับบีบลม ทำให้สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก สบาย โดยเครื่องวัดความดันดิจิตอลนั้นจะมีทั้งแบบสอดแขนและแบบข้อมือ ซึ่งสามารถพกพาได้สะดวก ข้อดีของการใช้เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลคือ ดูง่าย เกิดข้อผิดพลาดน้อย เหมาะสำหรับการใช้งานในผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากจะมีลักษณะการแสดงผลที่หน้าจอเป็นตัวเลขดิจิตอล พร้อมแสดงค่าความดันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเต้นของหัวใจ ค่าความดันโลหิต เป็นต้น ส่วนข้อเสียของเครื่องวัดความดันโลหลิตแบบดิจิตอลคือ จะมีกลไกในการทำงานที่ซับซ้อน และค่อนข้างที่จะมีราคาแพงในระดับหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญในการเลือกใช้เครื่องวัดความดันแบบดิจิตอลก็คือ เลือกที่ได้มาตรฐานสากล มีการแสดงผลที่ชัดเจนด้วยขนาดตัวเลขที่ได้มาตรฐาน พร้อมกับมีการแสดงค่าความดันต่าง ๆ อย่างครบถ้วน

2.เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน

เครื่องวัดความดันแบบสอดแขน เป็นเครื่องวัดความดันที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าร่วมกับเซ็นเซอร์ในการตรวจวัดบริเวณแขน เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตสูงที่มักนำมาใช้ในสถานพยาบาลที่มีผู้คนจำนวนมาก เนื่องจากใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว มีความแม่นยำสูง ทั้งยังเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตสูงที่ได้มาตรฐานสากลอีกด้วย หากใครต้องการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตแบบสอดแขนที่บ้านก็สามารถใช้ได้เช่นกัน เพียงแค่เลือกใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการใช้งานสูงสุดนั่นเอง เช่น ขนาดของเครื่องวัดความดันที่ไม่ใหญ่จนเกินไป ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพในการใช้งานสูง

3.เครื่องวัดความดันแบบปรอท

เครื่องวัดความดันโลหิตแบบปรอทเป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีประสิทธิภาพ และค่อนข้างมีความแม่นยำสูง สำหรับหลักการทำงานของเครื่องวัดความดันแบบปรอทนั้นจะใช้แรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งมีความแตกต่างจากเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล แต่ก็เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่สามารถใช้งานได้ง่าย โดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมนำมาใช้งานกับสถานพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ นอกจากที่จะนำมาใช้งานโดยทั่วไปจึงไม่อยากแนะนำให้เลือกใช้เครื่องวัดแบบปรอท เพราะเครื่องวัดความดันแบบปรอทนั้นจำเป็นต้องใช้ทักษะในการใช้งาน เพราะหากผู้ใช้งานนำมาใช้งานไม่ถูกต้องหรือใช้งานผิดวิธีอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายจากการใช้งานได้ เช่น อันตรายจากสารปรอทที่อยู่ภายใน

4.เครื่องวัดความดันแบบขดลวด

สำหรับเครื่องวัดความดันแบบขดลวด เป็นเครื่องวัดความดันที่มีราคาถูกสามารถหาซื้อได้โดยทั่วไป ใช้งานง่ายและมีน้ำหนักเบา สามารถพกพาได้สะดวก แพราะสามารถนำไปใช้งานโดยวางตำแหน่งไหนก็ได้ สำหรับบางรุ่นก็จะมีหูฟังอยู่ในสายพันแขนด้วย หากใครสนใจอยากใช้เครื่องวัดความดันแบบขดลวดคุณอาจจะต้องทำความเข้าใจก่อนใช้งานให้ดีก่อน เนื่องจากเป็นเครื่องวัดความดันที่มีกลไกในการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อน จึงจำเป็นต้องปรับเครื่องมือโดยการนำมาเทียบกับเครื่องมือชนิดปรอทอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 

สำหรับใครที่มีภาวะความดันดลหิตสูง และเกิดความสงสัยว่า โรคความดันโลหิตสูงหายได้ไหม อย่างที่เราได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถควบคุมให้ความดันโลหิตสูงลดต่ำลงกลับสู่ภาวะปกติได้ ด้วยการทานยา และการควบคุมการทานอาหาร แต่หากผู้ป่วยละเลยและไม่ใส่ใจที่จะดูแลตนเองโรคความดันโลหิตสูงก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเราได้ทราบกันไปแล้วว่าโรคความดันโลหิตสูงนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สิ่งสำคัญคือการดูแลตนเองให้ดีอยู่ตลอดเวลา จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 

บทความน่าสนใจ : ผักผลไม้ลดความดันที่ช่วยลดความดันโลหิตสูง