หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ถือว่าเป็นภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว มักจะไม่เกิดผลดีต่อร่างกาย เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนการเกิดโรคและอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ทำให้การดูแลใส่ใจสุขภาพหัวใจเป็นสิ่งที่ความสำคัญ ซึ่งใครที่อยากรู้ว่าอัตราการเต้นของหัวใจตอนนี้ อยู่ในระดับไหน วิธีตรวจวัดง่ายๆก็คือการใช้เครื่องวัดความดันโลหิต
โดยทั่วไปแล้ว การเต้นของหัวใจควรเป็นอย่างไรถึงจะดี
หัวใจ คือ อวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งในร่างกาย มีหน้าที่หลักคือสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย การเต้นของหัวใจยังช่วยบ่งบอกถึงสุขภาพได้ดีอีกด้วย หัวใจจะมีอัตราการเต้นที่สม่ำเสมอ และหากมีการเคลื่อนไหว หรือใช้งานร่างกาย อัตราการเต้นก็จะสูงขึ้นตามไป
คนเราเมื่อมีอายุ 6 ปีขึ้นไป จะมีอัตราการเต้นของหัวใจประมาณ 60 ถึง 100 ครั้งต่อนาที ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเต้นของหัวใจปกติ แต่ถ้าหัวใจของใครเต้นเร็วเกินกว่า 100 ครั้งต่อนาที หมายความว่าคุณกำลังมีภาวะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เป็นภาวะที่ไม่ค่อยส่งผลดีต่อร่างกาย ยิ่งถ้าหากว่าใครมีอัตราการเต้นของหัวใจเกินกว่า 150 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป ยิ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะคุณอาจจะกำลังเป็นโรคหัวใจหรือกำลังเป็นโรคอื่นๆแทรกซ้อน
หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มีสาเหตุจากอะไรได้บ้าง
1.ภาวะซีด เลือดจาง
คนที่มีภาวะซีดหรือเลือดจาง มักจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว เพราะภาวะซีดและเลือดจาง ทำให้เลือดในร่างกายน้อยลง ส่งผลให้หัวใจทำงานต้องหนักขึ้น เนื่องจากต้องมีการบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้ผู้ที่มีภาวะซีดเลือดจาง มีอาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น ส่วนสาเหตุที่เป็นทำให้เกิดภาวะซีด อาจจะเกิดจากการมีเลือดออกในกระเพาะ ถ่ายเป็นเลือด หรือการเสียเลือดจากการเป็นประจำเดือน
2.ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
คนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้มีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติได้เช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่คนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำคือคนที่เป็นโรคเบาหวาน คนที่ทานยาเบาหวานเป็นประจำ แต่ไม่ได้ทานข้าว แต่คนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานก็มีโอกาสที่จะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ทานอาหารไม่ตรงเวลาหรือคนที่ชอบอดอาหาร
3.ไทรอยด์เป็นพิษ
ไทรอยด์เป็นพิษคือการที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากกว่าปกติ ส่งผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว มีอาการใจสั่น แต่คนที่เป็นไทรอยด์ไม่ได้มีอาการใจสั่นและหัวใจเต้นเร็วเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังมีภาวะอาการคอโตร่วมด้วย นอกจากนี้คนที่กินเก่ง กินเยอะแต่น้ำหนักลด คนที่มีอาการเหนื่อยง่าย ก็มีโอกาสเป็นไทรอยด์เป็นพิษได้เช่นเดียวกัน
4. การดื่มชาหรือกาแฟ
เรื่องนี้หลายคนยังไม่รู้ว่าอาการหัวใจเต้นเร็วกว่าปกติเกิดจากการดื่มชาหรือกาแฟ เพราะชาหรือกาแฟมีส่วนผสมของคาเฟอีน ซึ่งคาเฟอีนก็มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบการทำงานของหัวใจทำให้หัวใจเต้นเร็ว ร่างกายตื่นตัว สำหรับคนที่ยังไม่เคยดื่มชาหรือกาแฟมาก่อน เมื่อได้ดื่มเป็นครั้งแรกก็มักจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่นเกิดขึ้น แต่เมื่อหมดฤทธิ์ของชาหรือกาแฟก็จะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติ
5.การดื่มแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น เหล้า เบียร์ ไวน์ มีผลทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว ใจสั่นได้ทั้งสิ้น เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วมากขึ้น นอกจากนี้แอลกอฮอล์ก็ยังส่งผลทำให้ตับอักเสบ ทำให้ความดันและไขมันสูงขึ้น ยิ่งถ้ามีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำทุกวัน ยิ่งจะทำให้ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอมากยิ่งขึ้น
6.ภาวะเครียดหรือวิตกกังวล
ใครที่มีภาวะเครียดหรือมีภาวะวิตกกังวล จะทำให้มีอาการหัวใจเต้นเร็วหรือมีอาการใจสั่นได้ ซึ่งเราสามารถพบเห็นอาการเหล่านี้ได้กับคนที่ป่วยเป็นโรคแพนิค โรคซึมเศร้า แต่ถึงอย่างนั้น คนปกติเกิดภาวะความเครียด ความวิตกกังวลได้เช่นเดียวกัน เพราะความเครียดและความวิตกกังวลเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การนอนไม่หลับ การพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นต้น
หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ บ่งบอกถึงโรคอะไร
อาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ คืออาการที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ถ้าหากไม่รีบทำการรักษาอย่างรวดเร็ว ก็อาจจะส่งผลในระยะยาวได้ มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น อาการหน้ามืด หมดสติ เป็นต้น นอกจากนี้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติยังก่อให้เกิดลิ่มเลือด ที่ทำให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือดที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดในสมองอุดตัน รวมไปถึงโรคหัวใจ ร้ายแรงไปกว่านั้นคืออาจทำให้มีอาการหัวใจวาย ที่มาจากภาวะหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่ทัน หรืออาจจะทำให้เสียชีวิตกะทันหัน จากภาวะหัวใจเต้นเร็วเกิดขึ้นในหัวใจห้องล่าง หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างสั่นพริ้ว
วิธีรักษาและวิธีป้องกัน ไม่ให้ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
1.รักษาด้วยยา
การรักษาหัวใจเต้นผิดปกติสามารถรักษาด้วยการใช้ยา โดยยาจะช่วยปรับจังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจให้ใกล้เคียงกับระดับปกติ นอกจากนี้การใช้ยายังช่วยป้องกันการเกิดอาการหัวใจเต้นเร็วซ้ำอีกครั้ง ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะหัวใจเต้นเร็วได้อีกด้วย
2.ช็อกหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้า
การช็อกหัวใจด้วยกระแสไฟฟ้า จะช่วยปรับการเต้นของหัวใจ ให้กลับมาเต้นถูกจังหวะ ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นอีกหนึ่งในวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยม เพราะลดภาวะแทรกซ้อน ลดการเกิดอันตรายจากภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติได้เป็นอย่างดี
3.จี้ด้วยคลื่นวิทยุ
การรักษาหัวใจเต้นเร็วผิดปกติด้วยการจี้ด้วยคลื่นวิทยุ คือหนึ่งในวิธีรักษาที่ได้ผลจริง เพราะสามารถรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นเร็วผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
4.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติได้เป็นอย่างดีแล้ว การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ยังช่วยรักษาผู้ที่ป่วยมีอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ให้การเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติ
5.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ยังช่วยให้คนที่มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าคนทั่วไป มีอัตราการเต้นของหัวใจในเกณฑ์ปกติ อีกทั้งยังช่วยทำให้ระบบการหายใจ ระบบการไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น
6.เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ
การเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จะทำให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพได้ทำการตรวจวัดค่าความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดันโลหิต ทำให้ได้รู้ว่าสุขภาพร่างกายและสุขภาพหัวใจอยู่ในเกณฑ์ไหน ต้องเข้ารับการรักษาหรือต้องป้องกัน ดังนั้นการตรวจสุขภาพเป็นประจำจึงถือว่าเป็นทั้งการรักษาและเป็นทั้งการป้องกันภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ